Header

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นบรรษัทภิบาลที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ซึ่งในที่สุดจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกิจการ และความเจริญเติบโตที่ยั่งยืน โดยจะเป็นการเสริมสร้างความโปร่งใส และประสิทธิภาพของฝ่ายจัดการ

คณะกรรมการจึงได้กำหนดนโยบายสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการขึ้น โดยมุ่งเน้นในเรื่องกรรมการบริษัท ความโปร่งใสในการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูล การกำกับดูแลฝ่ายบริหาร ให้ดำเนินการตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในระยะยาวของผู้ถือหุ้นภายใต้กรอบข้อกำหนดของกฎหมาย และจริยธรรมทางธุรกิจ

 

 

 

คณะกรรมการบริษัท

กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท

 
 

คณะกรรมการตรวจสอบ

กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ

 
 

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

 
 

คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

กฎบัตรคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

 
 

คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

กฎบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ

 
 

คณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กฎบัตรคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 
 

 

 

 

 

 

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

  

นโยบายการกำกับดูแลกิจการซึ่งรวมถึงจริยธรรมต่างๆ มีดังนี้

​- นโยบายด้านคุณภาพ อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม
​- นโยบายด้านการควบคุมภายใน
​- นโยบาย และระเบียบปฏิบัติในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
​- นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
​- นโยบายการบริหารความเสี่ยง
​- นโยบายการแจ้งเบาะแส
​- นโยบายการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน
​- แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศ
​- นโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
– นโยบายสิทธิมนุษยชน
– นโยบายด้านภาษี

 

อื่นๆ

 

 

 

หนังสือรับรองบริษัท

   ข้อบังคับ
   

   บมจ.001

   บมจ.005

 

 

 

สิทธิของผู้ถือหุ้น 

 

บริษัท ให้ความเคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้น ทั้งในฐานะของนักลงทุนและในฐานะเจ้าของบริษัทด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถรับทราบผลการดำเนินงานนโยบายการบริหารงาน หรือการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริงผ่านช่องทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ www.set.or.th ผู้ถือหุ้นสามารถมั่นใจได้ว่าสิทธิดังกล่าวได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดีเสมอ ยกตัวอย่างเช่น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญผู้ถือหุ้นซึ่งจัดใหม่ปีละ 1 ครั้ง ในวัน เวลา และสถานที่ที่เหมาะสม โดยบริษัทได้ส่งหนังสือนัดประชุม พร้อมเอกสารข้อมูลประกอบการประชุมที่มีรายละเอียดเพียงพอครบถ้วน ที่แสดงรายละเอียดความเป็นมา และความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในทุกวาระ และมีรายละเอียดในเรื่องดังนี้

– ข้อมูลของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการแทนกรรมการที่ครบกำหนดออกจากตำแหน่งตามวาระ
– ​ข้อมูลของบุคคลที่เสนอชื่อให้เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการ

 

การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

บริษัท ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบ ต่อสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย คณะกรรมการบริษัทปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน โดยให้ความสำคัญ และเคารพต่อสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของของผู้ถือหุ้นโดยไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นจึงสามารถมั่นใจได้ว่าสิทธิของตนจะได้รับการคุ้มครองและปฏิบัติด้วยดีเสมอ

​- บริษัทเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ถือหุ้นทราบอย่างเพียงพอทันเวลาและทั่วถึงเกี่ยวกับผลการดำเนินงานนโยบายการบริหารงานข้อมูล
– การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างถูกต้องครบถ้วนรวมถึงการเผยแพร่
– ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นผ่านช่องทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th และเว็บไซต์บริษัท คือ www.principalcapital.co.th
– บริษัทจัดการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามลำดับวาระที่แจ้งไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยบริษัทจะไม่เพิ่มวาระการประชุมโดยไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า หากจะมีการเพิ่มวาระเพื่อพิจารณาเรื่องอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นจะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายทั้งหมดและมีสิทธิออกเสียง
– ในการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งบริษัทได้ดำเนินการจัดส่งหนังสือนัดประชุม พร้อมเอกสารข้อมูลประกอบการประชุมโดยมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้องรวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการบริษัทในแต่ละวาระอย่างเพียงพอภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและเผยแพร่หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น และเอกสารประกอบการประชุมเป็นการล่วงหน้าก่อนการประชุมเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาในการพิจารณามากยิ่งขึ้นในเว็บไซต์บริษัทคือ www.principalcapital.co.th
– หากผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ บริษัทได้จัดให้มีหนังสือมอบฉันทะตามแบบของกระทรวงพาณิชย์ส่งไปพร้อมหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทนโดยเลือกที่จะมอบฉันทะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งแทนหรือกรรมการอิสระคนใดคนหนึ่งของบริษัทเข้าร่วมประชุมแทนเพื่อเป็นการรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นได้
– ​การกำหนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปตามจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง

 

สิทธิของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงานและผู้บริหารของบริษัทหรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก ได้แก่ คู่แข่ง เจ้าหนี้ภาครัฐและหน่วยงาน อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากบริษัทตระหนักถึงแรงสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียต่างๆซึ่งจะสร้างความสามารถในการแข่งขันและสร้างกำไรให้กับบริษัทซึ่งถือว่าเป็นการสร้างความสำเร็จในระยะยาวของบริษัทได้โดยมีรายละเอียดดังนี้

พนักงาน

บริษัทได้ปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมเป็นธรรมและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อเป็นการรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้อยู่กับบริษัทได้

คู่ค้า

บริษัทมีการซื้อสินค้าและบริการจากคู่ค้าเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้ารวมถึงการปฏิบัติตามสัญญาต่อคู่ค้า

เจ้าหนี้

บริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขการกู้ยืมเงินตามข้อตกลง

ลูกค้า

บริษัทเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน และมีหน่วยงานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่รับข้อร้องเรียนของลูกค้าเพื่อรีบดำเนินการให้แก่ลูกค้าโดยเร็วที่สุด

คู่แข่ง

บริษัทประพฤติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดีรักษาบรรทัดฐานของข้อพึงปฏิบัติในการแข่งขันหลีกเลี่ยงวิธีการไม่สุจริตเพื่อทำลายคู่แข่ง

ชุมชน

มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนและสังคม โดยที่ผ่านมา บริษัทได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทได้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานโยธา กรุงเทพมหานคร หรือหน่วยงานทางปกครองท้องที่อย่าง เคร่งครัด โดยบริษัทมักจะสามารถปฏิบัติได้ดีกว่าเกณฑ์ที่ทางการตั้งไว้

 

ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการบริหารมีอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบตาม ที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดและมอบหมาย และตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่กำหนดโดย คณะกรรมการบริษัท โดยสรุปอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญได้ดังนี้

1. รับผิดชอบการบริหารงานในเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานตามปกติธุระและงานบริหารของบริษัทพิจารณากำหนดนโยบาย ทิศทาง และกลยุทธ์ การดำเนินธุรกิจของบริษัทกำหนดแผนการเงิน งบประมาณการบริหารทรัพยากรบุคคล การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การประชาสัมพันธ์ ของบริษัท เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาและอนุมัติและ/หรือให้ความเห็นชอบ รวมตลอดถึงการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานของบริษัท ตามนโยบายที่กำหนด
2. ดำเนินกิจการและบริหารกิจการของบริษัท ตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ นโยบาย ระเบียบ ข้อกำหนด คำสั่ง และมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ/หรือมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัททุกประการ
3. มีอำนาจแต่งตั้งและควบคุมกำกับดูแลให้การดำเนินงานของคณะทำงานที่แต่งตั้งบรรลุตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด
4. มีอำนาจพิจารณา อนุมัติ การใช้จ่ายทางการเงินในด้านสินทรัพย์ฝ่ายทุน (Capital Expenditure) ในวงเงิน (แต่ละรายการ) ไม่เกิน 10 ล้านบาท ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติ/ให้สัตยาบันต่อไป
5. อนุมัติการใช้จ่ายเงินลงทุนที่สำคัญๆ ที่ได้กำหนดไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามที่จะได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท หรือตามที่คณะกรรมการบริษัทได้เคยมีมติอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
6. มีอำนาจพิจารณา อนุมัติการลงทุนระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) และการลงทุนทางการเงิน (Portfolio Investment) ระยะเวลา 2-5 ปี ของบริษัท ในวงเงินสำหรับ (แต่ละรายการ)ไม่เกิน 300 ล้านบาท ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติ/ให้สัตยาบันต่อไป
7. พิจารณาการเสนอจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลหรือเงินปันผลประจำปีต่อคณะกรรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและอนุมัติ
8. กำหนดโครงสร้างองค์กร อำนาจการบริหารองค์กร รวมถึงการแต่งตั้ง การว่าจ้าง การโยกย้าย การกำหนดเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทน โบนัสพนักงานระดับผู้บริหารซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารและการเลิกจ้าง

ทั้งนี้ อำนาจของคณะกรรมการบริหารจะไม่รวมถึงการอนุมัติรายการใดที่อาจมีความขัดแย้ง หรือรายการใดที่คณะกรรมการบริหาร หรือ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดขัดแย้งกับบริษัท หรือ บริษัทย่อย ตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งการอนุมัติรายการในลักษณะดังกล่าวจะต้องเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการและ/หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาและอนุมัติรายการดังกล่าวตามที่ข้อบังคับของบริษัทหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด

 

การดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันของบุคลากรทุกส่วน และยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับในระดับระหว่างประเทศ จึงมุ่งมั่นให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน และมุ่งเน้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงมีมาตรการหรือกลไกที่เหมาะสมในการป้องกัน รับเรื่อง และเยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม

บริษัทฯจึงได้กำหนดนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯขึ้น โดยยึดแนวทางจากหลักปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากล อาทิ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization: ILO – Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) และหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) โดยบริษัทฯมีกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ดังต่อไปนี้

นโยบายด้านภาษี

บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ ยึดมั่นการปฏิบัติตามนโยบายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม มีความ
รับผิดชอบต่อสังคม และสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในนใยบายด้านภาษี ได้ปฏิบัติตาม
กฎหมายภาษีและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ด้วยความโปร่งใสเป็นธรรม และถูกต้องตามมาตรฐาน
สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการประกอบธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทได้กำหนดนโยบายด้านภาษี ดังนี้

1. ยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบทางภาษีของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติด้านภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน โดยจัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านภาษีในการประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานภาษี
ของรัฐบาล เพื่อให้ข้อมูลทางภาษีที่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงในการดำเนินธุรกิจ

2. ไม่ใช้โครงสร้างภาษีที่ไม่ปกติ หรือโครงสร้างภาษีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นการหลีกเลี่ยงภาษี หรือสร้างความซับซ้อนเพื่อประโยชน์ทางภาษี

3. จัดให้มีการวางแผน ศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางภาษีในด้านต่าง ๆ ก่อนการเข้าลงทุนในโครงการของบริษัท

4. มีการกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ในการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือบริการระหว่างกันกับบริษัทในเครืออย่างเหมาะสมเป็นไปตามราคาตลาดปกติโดยทั่วไป

5. เคารพสิทธิของรัฐบาลในการกำหนดโครงสร้างภาษี อัตราภาษี และกลไกการจัดเก็บภาษี โดยมีการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลภาษีอย่างเปีดเผย เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันให้มีความเป็นมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย